วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

การเคลมประกัน ณ. จุดเกิดเหตุหมายถึงอะไร

การเคลมประกัน ณ. จุดเกิดเหตุหมายถึงอะไร


การเคลมประกัน ณ. คือการเคลมสด หมายความว่าเราแจ้งเหตุขณะที่เราในที่เกิดเหตุทันที
ทางบริษัทประกัน บริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่มาที่เกิดเหตุ และมีผู้เสียหายหรือคู่กรณีอยู่ด้วย
ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายผิด หรือ ฝ่ายถูก
โดยส่วนใหญ่ จะมีขั้นตอนการตรวจสอบที่ฉับไวเพราะว่า
เป็นการเคลมแบบทันท่วงที เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า ชนเรียกเคลมเลย เพราะต้องหาผู้ผิดถูกทันที
ก่อนแยกนำรถเข้าซ่อม อาทิเช่น โดนเฉี่ยวชน ชนแบบหนักการเคลมสด เคลมยังไง
ต้องบอกก่อนเลยว่า สิ่งสำคัญในการนำรถเข้าเคลม หรือ ซ่อมแซม จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันทุกครั้ง แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าเคลมได้หรือไม่ส่วนไหนได้รับความคุ้มครองบ้าง ส่วนไหนไม่ได้รับต้องรับผิดชอบเองบ้าง สามารถจะโทรสอบถามเจ้าหน้าที่รับเรื่องตลอด24ชั่วโมง หรือ Call center
ก่อนที่จะนำรถเข้าซ่อมจริงๆ เพราะบางอู่ไม่เหมือนกัน ถึงแม้ว่าเราจะทำประกันชั้น 1 ก็ตาม


สนใจทำประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1,2,3 2+,3+
กับตัวแทนที่พร้อมให้การดูแลและมีหลายบริษัทให้คุณเลือกสรร สามารถเปรียบเทียบเบี้ยประกัน และยังสามารถเช็ค อู่ใกล้บ้านได้ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อประกัน
ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อครูฝนได้เลยค่


โทร. 092-997-4249,063-196-4492
Line ID:  fondrivingshool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/




วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เคล็ดลับการขับรถเกียร์ธรรมดา


1. แน่ใจว่าไม่ได้วางเท้าซ้ายไว้บนแป้นคลัทช์ในระหว่างการขับขี่

2. อย่าให้สิ่งใดมารบกวน ในระหว่างขับรถ เช่น ส่งข้อความ นี่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิต หากคุณประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์

3. แน่ใจว่าคุณเหยียบแป้นคลัทช์จนสุดก่อนเปลี่ยนไปเกียร์ลำดับถัดไป หรือต่ำลง

4. จดจำเสียงของเครื่องยนต์ของคุณว่าจังหวะไหนควรเปลี่ยนเกียร์ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องวัด         ความเร็วรอบ

5. หากคุณประสบปัญหาในการทำให้รถออกตัว แน่ใจว่าคุณปล่อยคลัทช์ช้าๆ ให้คุณหยุดที่จุด friction point (ตอนที่เครื่องยนต์เริ่มออกตัว) และค่อยๆ ถอนเท้าออกจากคลัทช์ช้าๆ

6. ตรวจสอบรอบเครื่องยนต์ และเปลี่ยนเกียร์ให้สัมพันธ์กัน ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนเป็นเกียร์ 2 ที่รอบเครื่องยนต์ 2,000 รอบต่อนาที เกียร์ 3 ที่รอบเครื่องยนต์ 3,000 รอบต่อนาที และเกียร์ 4 ที่รอบเครื่องยนต์ 4,000 รอบต่อนาที จนกระทั่งเสียงของเครื่องยนต์ไม่คำราม เพื่อรอการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ให้สูงขึ้น ดังนั้นจงให้ความสนใจกับเสียงของเครื่องยนต์

7. หากไม่มีแผนผังตำแหน่งเกียร์ปรากฏอยู่บนหัวเกียร์ แน่ใจว่าคุณได้ถามคนที่คุ้นเคยกับรถรุ่นนั้นๆ ว่าระบบเกียร์ถูกจัดวางไว้อย่างไร สิ่งที่คุณไม่อยากให้เกิดขึ้น คือถอยหลังชนสิ่งของ (หรือบางคน) เมื่อคุณคิดว่าคุณได้เข้าเกียร์ 1 เพื่อเดินหน้า

8. เมื่อคุณต้องขับผ่านเนินหลังเต่า คุณควรเหยียบคลัทช์ค้างไว้ และเหยียบเบรกเล็กน้อยเพื่อทำให้รถชะลอตัว และเมื่อผ่านเนินให้ปล่อยคลัทช์ค่อยๆ และเหยียบแป้นคันเร่งเพื่อทำให้รถเคลื่อนตัวต่อไป

9.คุณอาจต้องเข้าเกียร์ 1 เมื่อจอดรถ นอกเหนือจากการใส่เบรกมือ

10. หากคุณรู้ล่วงหน้าว่าคุณจะต้องจอดรถบนทางลาด ให้คุณพกก้อนอิฐ หรือหินใส่รถไว้ เพื่อวางไว้ด้านหลังของล้อรถยนต์ (“ด้วยความระมัดระวัง”) มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะทำแบบนี้ทุกครั้ง เนื่องจากเบรกมือ จะเหมือนกับชิ้นส่วนอื่นๆ ของรถยนต์ ที่จะสึกหรอตามอายุการใช้งาน และจะไม่สามารถทำให้รถของคุณหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้ หากจอดไว้บนเนินเขาที่ชันมากๆ

11. อย่าขับรถบนถนน จนกระทั่งคุณมีความชำนาญในการเข้าเกียร์ 1 และเกียร์ถอยหลัง ให้คุณฝึกฝนการขับขี่รถยนต์โดยปราศจากการเหยียบแป้นคันเร่ง เมื่อปล่อยคลัทช์ และฝึกฝนอีก 100 ครั้ง ทั้งแบบเหยียบแป้นคันเร่ง และไม่เหยียบ โดยให้ทำเหมือนกันกับเกียร์ถอยหลัง หลังจากนั้นคุณจะพร้อมที่จะขับออกสู่ถนน

12. หากรถของคุณเหมือนจะดับ หรือเครื่องยนต์มีอาการคล้ายการสะอึก ให้เหยียบคลัทช์ซ้ำอีกครั้ง และคอยจนเสียงเครื่องยนต์เป็นปกติ และทำตามขั้นตอนใหม่อีกครั้ง

13. ฝึกฝนจนกระทั่งคุณสามารถเปลี่ยนเกียร์โดยไม่ต้องมองไปที่เกียร์ เพื่อคุณจะได้มีสมาธิอยู่กับถนน



สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingshool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หมั่นสังเกตุความไม่ปกติของรถ ก่อนเกิดการเสียหายมากขึ้น

     



         ควรหมั่นฟังเสียงต่างๆ ขณะใช้รถ คอยฟังว่าเกิดเสียงดังผิดปกติที่ส่วนใดหรือไม่ หมั่นคอยดูคอยสังเกตเพื่อให้สามารถล่วงรู้ความผิดปกติต่างๆ หมั่นคอยดูคอยสังเกตุเพื่อให้สามารถรู้ความผิดปกติต่างๆ ได้ทันการก่อนที่จะเกิดความเสียหายจนยากแก้ไข

1. ถ้าเสียงแหลมๆ หรือเสียงเสียดสีดังเมื่อมีอาการแตะเบรก ต้องรีบให้ช่างเช็คดูเพราะเบรกอาจ
   เกิดปัญหา

2. ถ้ามีกลิ่นไหม้มาจากบริเวณกระโปรงรถ อาจเกิดจากท่อสูบน้ำละลายหรือน้ำมันหล่อลื่นอยู่ในระดับต่ำ
    หรือน้ำมันหล่อลื่นรั่ว

3. ถ้าใต้ฝากระโปรงมีเสียงดัง อาจเกิดจากท่อหม้อน้ำรั่ว ถ้าขับอยู่ควรหาที่จอดเพราะรถอาจเกิด
   โอเวอร์ฮีท (สูบติด)

4. ถ้ามีเสียงหวีดๆ แหลมๆ จากยาง ให้ระวังยางระเบิดอันเกิดจากยางพองตัว หรือยางสึกเหรอหมดแล้ว

5.ถ้าเหยีบคันเร่งแล้วเกิดเสียงแหลมๆ สายพานแอร์อาจมีปัญหาหรืออาจเป็นเพราะไดชาร์จมีปัญหา

6. ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า อาจเป็นไปได้ว่าการทำงานของเครื่องกรองมลพิษมีปัญหา

7. น้ำสีแดงๆ นองอยู่ใต้รถ อาจเป็นเพราะพวงมาลัยพาวเวอร์รั่วหรือถ้าเป็นสีเหลือง ดูแล็นท์อาจรั่ว
    ถ้าเป็นสีดำ น้ำมันหล่อลื่นอาจรั่ว

8. ถ้าท่อไอเสียมีควันดำพ่นออกมามาก อาจมีปัญหาที่คาร์บูเรเตอร์

9. ถ้าพวงมาลัยสั่น อาจเป็นเพราะยางรองรับแท่น ขาด ชำรุด หรือลูกหมากหลวม หรือ ลูกปืนสึก

10. ถ้าได้ยินเสียงดดังบริเวณใต้แป้นคันเร่งให้รีบนำรถไปเช็ค เพราะอาจเป็นไปได้ว่าประเก็นแตก

11 ถ้าประเก็นรั่ว หรือเครื่องฟอกอากาศหลวม หรือข้อรัดหม้อเบรกลมรั่ว รถจะมีเสียงดังซู่ๆ
     บริเวณใกล้ๆ คาร์บูเรเตอร์


สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ

โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool

https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการขับรถเกียร์ธรรมดา

1. ทุกครั้งที่ผู้ขับลงจากรถ ผู้ขับรถควรเปลี่ยนเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างเสมอพร้อมทั้งดึงเบรกมือตามสมควรในกรณีไม่กีดขวางทางเข้าออก เพื่อความปลอดภัยในการสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งใหม่ หากเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยเกียร์ไม่ได้อยู่ ในตำแหน่งเกียร์ว่าง รถจะพุ่งเคลื่อนที่ได้อย่างฉับพลัน ก่อให้เกิดอันตราย สำหรับการเข้าเกียร์ในตำแหน่งเกียร์ว่าง นอกจากจะปฏิบัติก่อนลงจากรถทุกครั้งแล้ว อาจปฏิบัติในขณะรถหยุดเป็นเวลานาน ๆ ได้ด้วย โดยดึงเบรกมือ แทนการเหยียบเบรก และคลัทซ์ค้างไว้ ช่วยพักเท้าคลายอาการเมื่อยล้าได้ด้วย

2. การสตาร์ทที่ถูกต้องควรเหยียบคลัทซ์และเบรกค้างไว้ทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่องยนต์(และถูกแบบปลอดภัยสุดๆดึงเบรกมือด้วย) เพื่อป้องกันการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ มาสู่ระบบ ขับเคลื่อน เพราะหากลืมปลดเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง การเหยียบคลัทซ์จะทำให้รถไม่พุ่งไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน

3. มือใหม่หัดขับ ควรพยายามหลีกเลี่ยงการค้างตัวบนเนินหรือทางขึ้นสะพาน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องติดค้าง อยู่บนสะพาน ผู้ขับมือใหม่มักกังวลในการออกตัวจนทำให้รถไหลไปชนคันหลังได้ เราสามารถปฏิบัติได้2วิธีก็คือ

วิธีที่1 เมื่อจะเคลื่อนที่ออกตัวขึ้นเนินให้ผู้ขับ เท้าซ้ายเหยียบคลัชท์และเท้าขวาเหยีบยเบรกคู่หรือพร้อมกัน จากนั้นเริ่มเข้าเกียร์ 1 พร้อมที่จะออกตัว เท้าซ้ายยกปล่อยครัชท์ขึ้นสักเล็กน้อย (อาการของรถที่เราต้องจับอาการให้ได้2อย่างคือรอบเครื่องยนต์จะตกลงสักเล็กน้อยหรือจับอาการจากเครื่องยนต์จะสั่นๆเมื่อได้อาการทั้ง2นี้แล้ว) หยุดปล่อยครัชท์และให้ค้างเท้าซ้ายที่ปล่อยครัชท์(ระวังอย่าเผลอกดหรือปล่อยเพิ่ม) ลองปล่อยเบรกที่เท้าขวาถ้ารถไม่ไหลกลับ เท้าขวาปล่อยจากเบรกสลับไปแตะคันเร่งเบาๆ ประมาณ 1500-2000รอบ (รอบที่สูงกว่า3000รอบขึ้นไปอาจทำให้ครัชท์ไหม้ได้ รวมถึงปล่อยช้าหรือกดแช่ ค้างเท้า ปล่อยไม่หมดก็เป็นเหตุ) จากนั้นกลับมาที่เท้าซ้ายยกครัชท์เพิ่มขึ้นปล่อยจนหมดพร้อมกับเร่งเพิ่มคันเร่งให้รถเคลื่อนขึ้นเนิน "ถ้าดับให้เริ่มฝึกจากต้นใหม่"

วิธีที่2 ใช้เบรกมือช่วยในขณะออกตัวขึ้นเนินหรือสะพาน เหยียบครัชท์พร้อมกับเหยียบเบรกเช่นเดิมเข้าเกียร์1เสร็จแล้ว ใช้มือซ้ายกดปุ่มที่เบรกมือดึงขึ้น ทั้งกดปุ่มและดึงค้างไว้จากนั้นที่เท้าขวาปล่อยเบรก (รถจะไม่ถอยกลับด้วยเบรกมือที่เราดึงค้างไว้อยู่ ) จากนั้นรีบย้ายเท้าขวาไปแตะที่คันเร่ง1500-2000รอบเช่นเดิม แล้วยกครัชท์ขึ้นจนสุด เมื่อรถเริ่มอาการที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า เอาเบรกมือลงทันที่ แล้วจึงเร่งให้มีแรงส่งขึ้นเนินหรือสะพานเพิ่ม ทั้งสองวีธีนี้ควรเริ่มฝึกจากเนินที่ว่างๆหรือสะพานที่ไม่มีความสูงชันมากๆก่อน

4. เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมความเร็วของรถ ควรเปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ สูงหรือไม่ต่ำเกินไป (2,000 – 3,000 รอบ/นาที) จะทำให้การขับขี่นุ่มนวลยิ่งขึ้น และประหยัดน้ำมันอีกด้วย

5. การชะลอรถ/หยุดรถ การเบรกแบ่งเป็น2จังหวะ เมื่อขับรถมาด้วยความเร็วที่สูงมาก จังหวะที่1ให้แตะเบรกลดความเร็วเพียงอย่างเดียวก่อนให้ระบบเบรกช่วยลดความเร็วก่อนและใช้กำลังจากเครื่องยนต์เป็นตัวหน่วงช่วยชะลอรถอีกด้วย (ENGINE BRAKE) จากนั้น เมื่อรถใกล้จะหยุด จังหวะที่2 ให้เหยียบคลัทซ์พร้อมกับแตะเบรกตามอีกที่เพื่อหยุด และเมื่อจะจอด หยุดรถสนิทแล้วจึงเข้าเกียร์ว่าง

6. หมั่นฝึกเปลี่ยนเกียร์ให้เกิดความชำนาญ โดยใช้ประสาทสัมผัสแทนการก้มมองที่คันเกียร์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรจะละเลย นั่นคือ ไม่ควรกดหรือแตะเท้าไว้ที่แป้นคลัทซ์ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้เหยียบคลัทซ์ก็ตาม เพื่อยืดอายุการใช้งานของคลัทซ์ นอกจากนี้ ยังไม่ควรเลี้ยงคลัทซ์เมื่อรถติดอยู่บนเนินหรือสะพานนานๆ เพราะจะทำ ให้คลัทซ์เกิดการเสียหายได้ และอายุการใช้งานของผ้าคลัทซ์ก็จะสั้นลงด้วย

อาจจะยากสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยฝึกหัดมาก่อนค่ะ แต่สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานหรือได้เรียนและฝึกฝนมาบ้างแล้วจะเป็นการทบทวนไปในตัวค่ะ


สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มารยาทในการขับรถและใช้ถนนร่วมกับผู้อื่น


1. การขับรถแซงอย่างปลอดภัยและไม่เสียมารยาท ผู้ขับควรให้สัญญาณไฟก่อนแซงและเร่งความเร็วรถแซงขึ้นไป และเว้นระยะห่างก่อนให้สัญญาณไฟขอกลับเข้าช่องจราจรเดิม และเร่งความเร็วให้เหมาะสมกับรถคันที่อยู่ด้านหน้า

2. เมื่อท่านขับรถในช่องจราจรขวาสุด และมีรถด้านหลังขับขึ้นมาด้วยความเร็วสูง ท่านควรให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้ายและเปลี่ยนไปยังช่องจราจรด้านซ้าย เพื่อให้รถที่มีความเร็วสูงกว่ารถของท่านแซงขึ้นไปอย่างปลอดภัย
3. เมื่อมีผู้อื่นแบ่งปันน้ำใจในการใช้รถใช้ถนนให้ ไม่ควรเปิดไฟสูงแสดงการขอบคุณ แต่ให้แสดงความขอบคุณโดยโค้งศีรษะ ยกมือขวาขึ้นระดับคิ้ว หรือส่งยิ้มให้
4. การแซงรถคันหน้าได้แล้วปาดหน้าชิดซ้ายทันที เป็นการแซงที่ไม่ปลอดภัยและแสดงถึงความไร้มารยาทของผู้ขับขี่รถ
5. เมื่อรถที่ขับตามหลังมาให้สัญญาณขอแซง มารยาทที่ดีเพื่อแสดงการตอบรับว่ายินยอมให้แซงคือให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย
6. การใช้ไฟสูงที่ถูกต้องและไม่เสียมารยาท ควรเปิดไฟสูงเพื่อตรวจสอบสภาพถนนและริมถนน เฉพาะเส้นทางที่มืดมากและไม่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา หลังจากนั้นให้ปิดไฟสูงทันทีที่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา
7. การกระทำที่แสดงถึงความมีมารยาทและน้ำใจให้แก่ผู้ใช้ถนนร่วมกันคือ ไม่หยุดรถบนเส้นทแยงสีเหลืองหรือบริเวณปากซอย และควรเปิดทางให้รถในเส้นทางอื่นสามารถขับรถผ่านไปได้ในขณะที่รถท่านติดการจราจร
8. ไม่ควรบรรทุกสิ่งของยื่นพ้นตัวรถด้านหลังเกินกว่า 2.50 เมตร
9. หากขับรถด้วยความเร็วต่ำหรือขับช้าให้ขับชิดขอบด้านซ้าย
10. หากขับรถเข้าวงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ควรให้รถทางขวามือที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน
11. การเลี้ยวรถบริเวณทางแยกที่มีช่องจราจรมากกว่า 2 ช่องทาง ต้องขับอยู่ในช่องจราจรเดิมตั้งแต่เริ่มเข้าทางแยกจนเลี้ยวเสร็จสิ้น
12. หากท่านขับรถผ่านซอยที่มีรถรอที่จะขับออกจากซอยเป็นจำนวนมาก ควรเปิดทางให้รถออกจากซอยโดยสลับกับรถทางตรง
13. เมื่อเห็นคนยืนบนทางเท้าและแสดงท่าทีที่จะข้ามถนนตรงทางม้าลาย ผู้ขับรถควรแตะเบรกเตือนเพื่อให้รถหลังเห็นสัญญาณไฟและรู้ว่าท่านกำลังจะหยุดรถ และหยุดรถตรงทางม้าลายจนกระทั่งคนข้ามถนนเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงขับไปต่อ
14. เมื่อขับรถเข้าเขตชุมชนที่มีการจราจรติดขัด ผู้ขับควรขับเร็วที่ต่ำหรือขับช้าๆ และระมัดระวังคนเดิน และให้ใช้แตรเมื่อจำเป็นเพื่อเตือนคนเดินถนนหรือรถคันอื่น
15. เมื่อขับรถผ่านช่วงทางโค้ง หรือ ทางร่วมทางแยกในช่วงเวลากลางคืน ก่อนที่จะขับเข้าโค้งควรกะพริบไฟ และลดเป็นไฟต่ำเมื่อมีรถสวนทาง
16. เมื่อขับรถผ่านเข้าเขตชุมชน โรงเรียน หรือ สถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ควรชะลอความเร็วรถ และใช้ความระมัดระวังในการขับขี่ให้มาก
17. การขับรถจี้ท้าย และบีบแตรไล่บนทางด่วนเป็นการขับขี่ที่ไร้ซึ่งมารยาทเป็นอย่างมาก
18. การจอดรถขวางหน้าประตูบ้านผู้อื่นควรปลดเกียร์ว่างและไม่ดึงเบรกมือ
19. เมื่อมีปริมาณรถสะสมจำนวนมากบริเวณเชิงสะพานข้ามแยกที่จะต้องขับรถผ่าน ท่านควรขับไปต่อท้ายแถวรถที่ติดสะสมอยู่ ไม่ควรแทรกเข้าใกล้เชิงสะพาน
20. หากพบรถฉุกเฉินเปิดสัญญาณเสียงไซเรนกำลังวิ่งตามหลัง ผู้ขับขี่ควรเปลี่ยนช่องจราจรไปทางด้านซ้ายทันทีเมื่อปลอดภัย
21. การเร่งความเร็วเมื่อมีรถแซงมาขนาบข้างเป็นพฤติกรรมที่ไร้น้ำใจ เสียมารยาทและอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงขึ้นได้
22. ผู้ขับขี่ไม่ควรเปิดไฟสูงขณะรถสวนกัน หรือขับตามหลังรถคันอื่นหรือเพื่อไล่รถคันหน้า เพราะไฟจะส่องไปเข้าตาผู้ขับคันนั้นทำให้มองไม่เห็นถนน หรืออาจตกใจขับเปลี่ยนเลนหรือเร่งเครื่องหนีซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
23. ผู้ขับขี่ไม่ควบขับรถด้วยความเร็วสูงในที่ที่มีการจราจรพลุกพล่าน
24. การขับรถในขณะที่อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือดื่มสุรา เป็นการขับขี่ที่ไร้ซึ่งจิตสำนึก
25. ผู้ขับขี่ที่จิตสำนึกในความปลอดภัย ควรเตรียมพร้อมทั้งรถและคนก่อนออกเดินทางเสมอ
26. เมื่อเกิดอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บ ผู้ขับขี่ควรให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นอันดับแรก
27. การไม่หยุดรถให้คนข้ามทางเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายจราจร และแสดงถึงความไร้น้ำใจ
28. การขับช้าชิดขวาเป็นพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ควรกระทำ เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุและการจราจรติดขัด



ทั้ง "28 มารยาทในการขับรถ" ที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น เป็นมารยาทที่ถือได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ยอมรับกันในระดับสากล ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามมารยาทดังกล่าว เพื่อให้การใช้รถใช้ถนนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด




สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คุณรู้หรือไม่ จับพวงมาลัยผิดวิธีเกิด อันตราย!!!!!!!

จับพวงมาลัย ท่าไหนก็เลี้ยวได้ บังคับได้เหมือนกันมิใช่หรือ หากเพื่อนๆ คิดเช่นนี้อยู่ บอกเลยครับว่า อันตรายมากๆ ทั้งต่อตัวเพื่อนๆ เอง และอาจก่อเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย



การจับพวงมาลัย แบบผิดวิธี

การจับพวงมาลัย ที่ผิดวิธี ส่วนใหญ่ที่เพื่อนๆ มักจะทำกัน ได้แก่ การหงายมือ และสอดมือเข้าไปในพวงมาลัย ด้วยเหตุที่มันรู้สึกบังคับเลี้ยวง่ายกว่า เบากว่า แต่หากรถเกิดการสะดุดอย่างแรง พวงมาลัยจะตีมืออย่างรุนแรง และก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เลยนะครับ


วิธีจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง

การจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง ควรจับในตำแหน่งเลข 2 และ 10 ของเข็มนาฬิกา ซึ่งแขนจะงออยู่เล็กน้อย และเพียงพอที่หมุนพวงมาลัยได้จนครบรอบ นั่นเอง




สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/