วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการขับรถเกียร์ธรรมดา

1. ทุกครั้งที่ผู้ขับลงจากรถ ผู้ขับรถควรเปลี่ยนเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างเสมอพร้อมทั้งดึงเบรกมือตามสมควรในกรณีไม่กีดขวางทางเข้าออก เพื่อความปลอดภัยในการสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งใหม่ หากเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยเกียร์ไม่ได้อยู่ ในตำแหน่งเกียร์ว่าง รถจะพุ่งเคลื่อนที่ได้อย่างฉับพลัน ก่อให้เกิดอันตราย สำหรับการเข้าเกียร์ในตำแหน่งเกียร์ว่าง นอกจากจะปฏิบัติก่อนลงจากรถทุกครั้งแล้ว อาจปฏิบัติในขณะรถหยุดเป็นเวลานาน ๆ ได้ด้วย โดยดึงเบรกมือ แทนการเหยียบเบรก และคลัทซ์ค้างไว้ ช่วยพักเท้าคลายอาการเมื่อยล้าได้ด้วย

2. การสตาร์ทที่ถูกต้องควรเหยียบคลัทซ์และเบรกค้างไว้ทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่องยนต์(และถูกแบบปลอดภัยสุดๆดึงเบรกมือด้วย) เพื่อป้องกันการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ มาสู่ระบบ ขับเคลื่อน เพราะหากลืมปลดเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง การเหยียบคลัทซ์จะทำให้รถไม่พุ่งไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน

3. มือใหม่หัดขับ ควรพยายามหลีกเลี่ยงการค้างตัวบนเนินหรือทางขึ้นสะพาน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องติดค้าง อยู่บนสะพาน ผู้ขับมือใหม่มักกังวลในการออกตัวจนทำให้รถไหลไปชนคันหลังได้ เราสามารถปฏิบัติได้2วิธีก็คือ

วิธีที่1 เมื่อจะเคลื่อนที่ออกตัวขึ้นเนินให้ผู้ขับ เท้าซ้ายเหยียบคลัชท์และเท้าขวาเหยีบยเบรกคู่หรือพร้อมกัน จากนั้นเริ่มเข้าเกียร์ 1 พร้อมที่จะออกตัว เท้าซ้ายยกปล่อยครัชท์ขึ้นสักเล็กน้อย (อาการของรถที่เราต้องจับอาการให้ได้2อย่างคือรอบเครื่องยนต์จะตกลงสักเล็กน้อยหรือจับอาการจากเครื่องยนต์จะสั่นๆเมื่อได้อาการทั้ง2นี้แล้ว) หยุดปล่อยครัชท์และให้ค้างเท้าซ้ายที่ปล่อยครัชท์(ระวังอย่าเผลอกดหรือปล่อยเพิ่ม) ลองปล่อยเบรกที่เท้าขวาถ้ารถไม่ไหลกลับ เท้าขวาปล่อยจากเบรกสลับไปแตะคันเร่งเบาๆ ประมาณ 1500-2000รอบ (รอบที่สูงกว่า3000รอบขึ้นไปอาจทำให้ครัชท์ไหม้ได้ รวมถึงปล่อยช้าหรือกดแช่ ค้างเท้า ปล่อยไม่หมดก็เป็นเหตุ) จากนั้นกลับมาที่เท้าซ้ายยกครัชท์เพิ่มขึ้นปล่อยจนหมดพร้อมกับเร่งเพิ่มคันเร่งให้รถเคลื่อนขึ้นเนิน "ถ้าดับให้เริ่มฝึกจากต้นใหม่"

วิธีที่2 ใช้เบรกมือช่วยในขณะออกตัวขึ้นเนินหรือสะพาน เหยียบครัชท์พร้อมกับเหยียบเบรกเช่นเดิมเข้าเกียร์1เสร็จแล้ว ใช้มือซ้ายกดปุ่มที่เบรกมือดึงขึ้น ทั้งกดปุ่มและดึงค้างไว้จากนั้นที่เท้าขวาปล่อยเบรก (รถจะไม่ถอยกลับด้วยเบรกมือที่เราดึงค้างไว้อยู่ ) จากนั้นรีบย้ายเท้าขวาไปแตะที่คันเร่ง1500-2000รอบเช่นเดิม แล้วยกครัชท์ขึ้นจนสุด เมื่อรถเริ่มอาการที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า เอาเบรกมือลงทันที่ แล้วจึงเร่งให้มีแรงส่งขึ้นเนินหรือสะพานเพิ่ม ทั้งสองวีธีนี้ควรเริ่มฝึกจากเนินที่ว่างๆหรือสะพานที่ไม่มีความสูงชันมากๆก่อน

4. เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมความเร็วของรถ ควรเปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ สูงหรือไม่ต่ำเกินไป (2,000 – 3,000 รอบ/นาที) จะทำให้การขับขี่นุ่มนวลยิ่งขึ้น และประหยัดน้ำมันอีกด้วย

5. การชะลอรถ/หยุดรถ การเบรกแบ่งเป็น2จังหวะ เมื่อขับรถมาด้วยความเร็วที่สูงมาก จังหวะที่1ให้แตะเบรกลดความเร็วเพียงอย่างเดียวก่อนให้ระบบเบรกช่วยลดความเร็วก่อนและใช้กำลังจากเครื่องยนต์เป็นตัวหน่วงช่วยชะลอรถอีกด้วย (ENGINE BRAKE) จากนั้น เมื่อรถใกล้จะหยุด จังหวะที่2 ให้เหยียบคลัทซ์พร้อมกับแตะเบรกตามอีกที่เพื่อหยุด และเมื่อจะจอด หยุดรถสนิทแล้วจึงเข้าเกียร์ว่าง

6. หมั่นฝึกเปลี่ยนเกียร์ให้เกิดความชำนาญ โดยใช้ประสาทสัมผัสแทนการก้มมองที่คันเกียร์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรจะละเลย นั่นคือ ไม่ควรกดหรือแตะเท้าไว้ที่แป้นคลัทซ์ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้เหยียบคลัทซ์ก็ตาม เพื่อยืดอายุการใช้งานของคลัทซ์ นอกจากนี้ ยังไม่ควรเลี้ยงคลัทซ์เมื่อรถติดอยู่บนเนินหรือสะพานนานๆ เพราะจะทำ ให้คลัทซ์เกิดการเสียหายได้ และอายุการใช้งานของผ้าคลัทซ์ก็จะสั้นลงด้วย

อาจจะยากสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยฝึกหัดมาก่อนค่ะ แต่สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานหรือได้เรียนและฝึกฝนมาบ้างแล้วจะเป็นการทบทวนไปในตัวค่ะ


สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/