วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หมั่นสังเกตุความไม่ปกติของรถ ก่อนเกิดการเสียหายมากขึ้น

     



         ควรหมั่นฟังเสียงต่างๆ ขณะใช้รถ คอยฟังว่าเกิดเสียงดังผิดปกติที่ส่วนใดหรือไม่ หมั่นคอยดูคอยสังเกตเพื่อให้สามารถล่วงรู้ความผิดปกติต่างๆ หมั่นคอยดูคอยสังเกตุเพื่อให้สามารถรู้ความผิดปกติต่างๆ ได้ทันการก่อนที่จะเกิดความเสียหายจนยากแก้ไข

1. ถ้าเสียงแหลมๆ หรือเสียงเสียดสีดังเมื่อมีอาการแตะเบรก ต้องรีบให้ช่างเช็คดูเพราะเบรกอาจ
   เกิดปัญหา

2. ถ้ามีกลิ่นไหม้มาจากบริเวณกระโปรงรถ อาจเกิดจากท่อสูบน้ำละลายหรือน้ำมันหล่อลื่นอยู่ในระดับต่ำ
    หรือน้ำมันหล่อลื่นรั่ว

3. ถ้าใต้ฝากระโปรงมีเสียงดัง อาจเกิดจากท่อหม้อน้ำรั่ว ถ้าขับอยู่ควรหาที่จอดเพราะรถอาจเกิด
   โอเวอร์ฮีท (สูบติด)

4. ถ้ามีเสียงหวีดๆ แหลมๆ จากยาง ให้ระวังยางระเบิดอันเกิดจากยางพองตัว หรือยางสึกเหรอหมดแล้ว

5.ถ้าเหยีบคันเร่งแล้วเกิดเสียงแหลมๆ สายพานแอร์อาจมีปัญหาหรืออาจเป็นเพราะไดชาร์จมีปัญหา

6. ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า อาจเป็นไปได้ว่าการทำงานของเครื่องกรองมลพิษมีปัญหา

7. น้ำสีแดงๆ นองอยู่ใต้รถ อาจเป็นเพราะพวงมาลัยพาวเวอร์รั่วหรือถ้าเป็นสีเหลือง ดูแล็นท์อาจรั่ว
    ถ้าเป็นสีดำ น้ำมันหล่อลื่นอาจรั่ว

8. ถ้าท่อไอเสียมีควันดำพ่นออกมามาก อาจมีปัญหาที่คาร์บูเรเตอร์

9. ถ้าพวงมาลัยสั่น อาจเป็นเพราะยางรองรับแท่น ขาด ชำรุด หรือลูกหมากหลวม หรือ ลูกปืนสึก

10. ถ้าได้ยินเสียงดดังบริเวณใต้แป้นคันเร่งให้รีบนำรถไปเช็ค เพราะอาจเป็นไปได้ว่าประเก็นแตก

11 ถ้าประเก็นรั่ว หรือเครื่องฟอกอากาศหลวม หรือข้อรัดหม้อเบรกลมรั่ว รถจะมีเสียงดังซู่ๆ
     บริเวณใกล้ๆ คาร์บูเรเตอร์


สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ

โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool

https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการขับรถเกียร์ธรรมดา

1. ทุกครั้งที่ผู้ขับลงจากรถ ผู้ขับรถควรเปลี่ยนเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างเสมอพร้อมทั้งดึงเบรกมือตามสมควรในกรณีไม่กีดขวางทางเข้าออก เพื่อความปลอดภัยในการสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งใหม่ หากเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยเกียร์ไม่ได้อยู่ ในตำแหน่งเกียร์ว่าง รถจะพุ่งเคลื่อนที่ได้อย่างฉับพลัน ก่อให้เกิดอันตราย สำหรับการเข้าเกียร์ในตำแหน่งเกียร์ว่าง นอกจากจะปฏิบัติก่อนลงจากรถทุกครั้งแล้ว อาจปฏิบัติในขณะรถหยุดเป็นเวลานาน ๆ ได้ด้วย โดยดึงเบรกมือ แทนการเหยียบเบรก และคลัทซ์ค้างไว้ ช่วยพักเท้าคลายอาการเมื่อยล้าได้ด้วย

2. การสตาร์ทที่ถูกต้องควรเหยียบคลัทซ์และเบรกค้างไว้ทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่องยนต์(และถูกแบบปลอดภัยสุดๆดึงเบรกมือด้วย) เพื่อป้องกันการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ มาสู่ระบบ ขับเคลื่อน เพราะหากลืมปลดเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง การเหยียบคลัทซ์จะทำให้รถไม่พุ่งไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน

3. มือใหม่หัดขับ ควรพยายามหลีกเลี่ยงการค้างตัวบนเนินหรือทางขึ้นสะพาน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องติดค้าง อยู่บนสะพาน ผู้ขับมือใหม่มักกังวลในการออกตัวจนทำให้รถไหลไปชนคันหลังได้ เราสามารถปฏิบัติได้2วิธีก็คือ

วิธีที่1 เมื่อจะเคลื่อนที่ออกตัวขึ้นเนินให้ผู้ขับ เท้าซ้ายเหยียบคลัชท์และเท้าขวาเหยีบยเบรกคู่หรือพร้อมกัน จากนั้นเริ่มเข้าเกียร์ 1 พร้อมที่จะออกตัว เท้าซ้ายยกปล่อยครัชท์ขึ้นสักเล็กน้อย (อาการของรถที่เราต้องจับอาการให้ได้2อย่างคือรอบเครื่องยนต์จะตกลงสักเล็กน้อยหรือจับอาการจากเครื่องยนต์จะสั่นๆเมื่อได้อาการทั้ง2นี้แล้ว) หยุดปล่อยครัชท์และให้ค้างเท้าซ้ายที่ปล่อยครัชท์(ระวังอย่าเผลอกดหรือปล่อยเพิ่ม) ลองปล่อยเบรกที่เท้าขวาถ้ารถไม่ไหลกลับ เท้าขวาปล่อยจากเบรกสลับไปแตะคันเร่งเบาๆ ประมาณ 1500-2000รอบ (รอบที่สูงกว่า3000รอบขึ้นไปอาจทำให้ครัชท์ไหม้ได้ รวมถึงปล่อยช้าหรือกดแช่ ค้างเท้า ปล่อยไม่หมดก็เป็นเหตุ) จากนั้นกลับมาที่เท้าซ้ายยกครัชท์เพิ่มขึ้นปล่อยจนหมดพร้อมกับเร่งเพิ่มคันเร่งให้รถเคลื่อนขึ้นเนิน "ถ้าดับให้เริ่มฝึกจากต้นใหม่"

วิธีที่2 ใช้เบรกมือช่วยในขณะออกตัวขึ้นเนินหรือสะพาน เหยียบครัชท์พร้อมกับเหยียบเบรกเช่นเดิมเข้าเกียร์1เสร็จแล้ว ใช้มือซ้ายกดปุ่มที่เบรกมือดึงขึ้น ทั้งกดปุ่มและดึงค้างไว้จากนั้นที่เท้าขวาปล่อยเบรก (รถจะไม่ถอยกลับด้วยเบรกมือที่เราดึงค้างไว้อยู่ ) จากนั้นรีบย้ายเท้าขวาไปแตะที่คันเร่ง1500-2000รอบเช่นเดิม แล้วยกครัชท์ขึ้นจนสุด เมื่อรถเริ่มอาการที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า เอาเบรกมือลงทันที่ แล้วจึงเร่งให้มีแรงส่งขึ้นเนินหรือสะพานเพิ่ม ทั้งสองวีธีนี้ควรเริ่มฝึกจากเนินที่ว่างๆหรือสะพานที่ไม่มีความสูงชันมากๆก่อน

4. เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมความเร็วของรถ ควรเปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ สูงหรือไม่ต่ำเกินไป (2,000 – 3,000 รอบ/นาที) จะทำให้การขับขี่นุ่มนวลยิ่งขึ้น และประหยัดน้ำมันอีกด้วย

5. การชะลอรถ/หยุดรถ การเบรกแบ่งเป็น2จังหวะ เมื่อขับรถมาด้วยความเร็วที่สูงมาก จังหวะที่1ให้แตะเบรกลดความเร็วเพียงอย่างเดียวก่อนให้ระบบเบรกช่วยลดความเร็วก่อนและใช้กำลังจากเครื่องยนต์เป็นตัวหน่วงช่วยชะลอรถอีกด้วย (ENGINE BRAKE) จากนั้น เมื่อรถใกล้จะหยุด จังหวะที่2 ให้เหยียบคลัทซ์พร้อมกับแตะเบรกตามอีกที่เพื่อหยุด และเมื่อจะจอด หยุดรถสนิทแล้วจึงเข้าเกียร์ว่าง

6. หมั่นฝึกเปลี่ยนเกียร์ให้เกิดความชำนาญ โดยใช้ประสาทสัมผัสแทนการก้มมองที่คันเกียร์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรจะละเลย นั่นคือ ไม่ควรกดหรือแตะเท้าไว้ที่แป้นคลัทซ์ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้เหยียบคลัทซ์ก็ตาม เพื่อยืดอายุการใช้งานของคลัทซ์ นอกจากนี้ ยังไม่ควรเลี้ยงคลัทซ์เมื่อรถติดอยู่บนเนินหรือสะพานนานๆ เพราะจะทำ ให้คลัทซ์เกิดการเสียหายได้ และอายุการใช้งานของผ้าคลัทซ์ก็จะสั้นลงด้วย

อาจจะยากสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยฝึกหัดมาก่อนค่ะ แต่สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานหรือได้เรียนและฝึกฝนมาบ้างแล้วจะเป็นการทบทวนไปในตัวค่ะ


สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มารยาทในการขับรถและใช้ถนนร่วมกับผู้อื่น


1. การขับรถแซงอย่างปลอดภัยและไม่เสียมารยาท ผู้ขับควรให้สัญญาณไฟก่อนแซงและเร่งความเร็วรถแซงขึ้นไป และเว้นระยะห่างก่อนให้สัญญาณไฟขอกลับเข้าช่องจราจรเดิม และเร่งความเร็วให้เหมาะสมกับรถคันที่อยู่ด้านหน้า

2. เมื่อท่านขับรถในช่องจราจรขวาสุด และมีรถด้านหลังขับขึ้นมาด้วยความเร็วสูง ท่านควรให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้ายและเปลี่ยนไปยังช่องจราจรด้านซ้าย เพื่อให้รถที่มีความเร็วสูงกว่ารถของท่านแซงขึ้นไปอย่างปลอดภัย
3. เมื่อมีผู้อื่นแบ่งปันน้ำใจในการใช้รถใช้ถนนให้ ไม่ควรเปิดไฟสูงแสดงการขอบคุณ แต่ให้แสดงความขอบคุณโดยโค้งศีรษะ ยกมือขวาขึ้นระดับคิ้ว หรือส่งยิ้มให้
4. การแซงรถคันหน้าได้แล้วปาดหน้าชิดซ้ายทันที เป็นการแซงที่ไม่ปลอดภัยและแสดงถึงความไร้มารยาทของผู้ขับขี่รถ
5. เมื่อรถที่ขับตามหลังมาให้สัญญาณขอแซง มารยาทที่ดีเพื่อแสดงการตอบรับว่ายินยอมให้แซงคือให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย
6. การใช้ไฟสูงที่ถูกต้องและไม่เสียมารยาท ควรเปิดไฟสูงเพื่อตรวจสอบสภาพถนนและริมถนน เฉพาะเส้นทางที่มืดมากและไม่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา หลังจากนั้นให้ปิดไฟสูงทันทีที่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา
7. การกระทำที่แสดงถึงความมีมารยาทและน้ำใจให้แก่ผู้ใช้ถนนร่วมกันคือ ไม่หยุดรถบนเส้นทแยงสีเหลืองหรือบริเวณปากซอย และควรเปิดทางให้รถในเส้นทางอื่นสามารถขับรถผ่านไปได้ในขณะที่รถท่านติดการจราจร
8. ไม่ควรบรรทุกสิ่งของยื่นพ้นตัวรถด้านหลังเกินกว่า 2.50 เมตร
9. หากขับรถด้วยความเร็วต่ำหรือขับช้าให้ขับชิดขอบด้านซ้าย
10. หากขับรถเข้าวงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ควรให้รถทางขวามือที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน
11. การเลี้ยวรถบริเวณทางแยกที่มีช่องจราจรมากกว่า 2 ช่องทาง ต้องขับอยู่ในช่องจราจรเดิมตั้งแต่เริ่มเข้าทางแยกจนเลี้ยวเสร็จสิ้น
12. หากท่านขับรถผ่านซอยที่มีรถรอที่จะขับออกจากซอยเป็นจำนวนมาก ควรเปิดทางให้รถออกจากซอยโดยสลับกับรถทางตรง
13. เมื่อเห็นคนยืนบนทางเท้าและแสดงท่าทีที่จะข้ามถนนตรงทางม้าลาย ผู้ขับรถควรแตะเบรกเตือนเพื่อให้รถหลังเห็นสัญญาณไฟและรู้ว่าท่านกำลังจะหยุดรถ และหยุดรถตรงทางม้าลายจนกระทั่งคนข้ามถนนเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงขับไปต่อ
14. เมื่อขับรถเข้าเขตชุมชนที่มีการจราจรติดขัด ผู้ขับควรขับเร็วที่ต่ำหรือขับช้าๆ และระมัดระวังคนเดิน และให้ใช้แตรเมื่อจำเป็นเพื่อเตือนคนเดินถนนหรือรถคันอื่น
15. เมื่อขับรถผ่านช่วงทางโค้ง หรือ ทางร่วมทางแยกในช่วงเวลากลางคืน ก่อนที่จะขับเข้าโค้งควรกะพริบไฟ และลดเป็นไฟต่ำเมื่อมีรถสวนทาง
16. เมื่อขับรถผ่านเข้าเขตชุมชน โรงเรียน หรือ สถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ควรชะลอความเร็วรถ และใช้ความระมัดระวังในการขับขี่ให้มาก
17. การขับรถจี้ท้าย และบีบแตรไล่บนทางด่วนเป็นการขับขี่ที่ไร้ซึ่งมารยาทเป็นอย่างมาก
18. การจอดรถขวางหน้าประตูบ้านผู้อื่นควรปลดเกียร์ว่างและไม่ดึงเบรกมือ
19. เมื่อมีปริมาณรถสะสมจำนวนมากบริเวณเชิงสะพานข้ามแยกที่จะต้องขับรถผ่าน ท่านควรขับไปต่อท้ายแถวรถที่ติดสะสมอยู่ ไม่ควรแทรกเข้าใกล้เชิงสะพาน
20. หากพบรถฉุกเฉินเปิดสัญญาณเสียงไซเรนกำลังวิ่งตามหลัง ผู้ขับขี่ควรเปลี่ยนช่องจราจรไปทางด้านซ้ายทันทีเมื่อปลอดภัย
21. การเร่งความเร็วเมื่อมีรถแซงมาขนาบข้างเป็นพฤติกรรมที่ไร้น้ำใจ เสียมารยาทและอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงขึ้นได้
22. ผู้ขับขี่ไม่ควรเปิดไฟสูงขณะรถสวนกัน หรือขับตามหลังรถคันอื่นหรือเพื่อไล่รถคันหน้า เพราะไฟจะส่องไปเข้าตาผู้ขับคันนั้นทำให้มองไม่เห็นถนน หรืออาจตกใจขับเปลี่ยนเลนหรือเร่งเครื่องหนีซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
23. ผู้ขับขี่ไม่ควบขับรถด้วยความเร็วสูงในที่ที่มีการจราจรพลุกพล่าน
24. การขับรถในขณะที่อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือดื่มสุรา เป็นการขับขี่ที่ไร้ซึ่งจิตสำนึก
25. ผู้ขับขี่ที่จิตสำนึกในความปลอดภัย ควรเตรียมพร้อมทั้งรถและคนก่อนออกเดินทางเสมอ
26. เมื่อเกิดอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บ ผู้ขับขี่ควรให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นอันดับแรก
27. การไม่หยุดรถให้คนข้ามทางเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายจราจร และแสดงถึงความไร้น้ำใจ
28. การขับช้าชิดขวาเป็นพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ควรกระทำ เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุและการจราจรติดขัด



ทั้ง "28 มารยาทในการขับรถ" ที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น เป็นมารยาทที่ถือได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ยอมรับกันในระดับสากล ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามมารยาทดังกล่าว เพื่อให้การใช้รถใช้ถนนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด




สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คุณรู้หรือไม่ จับพวงมาลัยผิดวิธีเกิด อันตราย!!!!!!!

จับพวงมาลัย ท่าไหนก็เลี้ยวได้ บังคับได้เหมือนกันมิใช่หรือ หากเพื่อนๆ คิดเช่นนี้อยู่ บอกเลยครับว่า อันตรายมากๆ ทั้งต่อตัวเพื่อนๆ เอง และอาจก่อเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย



การจับพวงมาลัย แบบผิดวิธี

การจับพวงมาลัย ที่ผิดวิธี ส่วนใหญ่ที่เพื่อนๆ มักจะทำกัน ได้แก่ การหงายมือ และสอดมือเข้าไปในพวงมาลัย ด้วยเหตุที่มันรู้สึกบังคับเลี้ยวง่ายกว่า เบากว่า แต่หากรถเกิดการสะดุดอย่างแรง พวงมาลัยจะตีมืออย่างรุนแรง และก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้เลยนะครับ


วิธีจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง

การจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง ควรจับในตำแหน่งเลข 2 และ 10 ของเข็มนาฬิกา ซึ่งแขนจะงออยู่เล็กน้อย และเพียงพอที่หมุนพวงมาลัยได้จนครบรอบ นั่นเอง




สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มาดูกันค่ะว่า ขับรถปลอดภัยในหน้าฝนทำอย่างไร

เข้าหน้าฝนกันแล้วฝนตกกระหน่ำแทบทุกวัน อีกเรื่องหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การตรวจเช็ก รถที่รักของเรา ให้พร้อมรับหน้าฝน เพื่อความปลอดภัย ในการขับขี่ช่วงหน้าฝน ลองมาดูกันนะครับว่าในหน้าฝนอย่างนี้ เราจะเตรียมความพร้อมอย่างไรให้ปลอดภัยถึงที่หมายแบบหายห่วง

หากฝนตกหนัก ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน ในกรณีที่ฝนตกหนัก ไม่สมควรที่จะเปิดไฟฉุกเฉิน เนื่องจากไฟฉุกเฉินมีไว้เพื่อกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และจะทำให้แยกไม่ออกหากมีรถที่ได้รับอุบัติเหตุ เปิดไฟฉุกเฉินและจอดที่ข้างทาง รวมทั้งจะไม่สามารถให้สัญญาณเมื่อต้องการเปลี่ยนเลน ทำให้ เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากการที่รถที่ตามมาด้านหลัง คาดเดาทิศทางของรถไม่ได้


ตรวจสภาพยางให้พร้อม หมั่นตรวจสภาพยางก่อนใช้งานเสมอ และแน่ใจว่าคุณได้ทำตามขั้นตอนในการบำรุงรักษาดังต่อไปนี้ เติมลมยางให้เหมาะสม ตามข้อแนะนำของบริษัทผลิตรถยนต์ ซึ่งส่วนมากจะมีสติกเกอร์ข้อมูลแนะนำความดันลมยางปิดไว้บริเวณ ขอบประตูรถ และอยู่ในคู่มือประจำรถ ขนาดความดันลมยางที่อยู่บนแก้มยางเป็นตัวเลขที่บอกความสามารถในการรับแรงดันสูงสุดของยางเส้นนั้นๆ ไม่ได้เป็นแรงดันลมที่เหมาะสมในการใช้งาน คุณควรตรวจแรงดันลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้งตรวจความลึก
ดอกยาง ความลึกเหมาะสมของดอกยางที่เหลือ อยู่เป็นตัวป้องกันการลื่นไถล หรือการเหินน้ำ


ขับให้ช้าลง เมื่อฝนตก สิ่งสกปรกและน้ำมัน บนถนนจะรวมตัวกันทำให้ถนนลื่นทำให้รถเกิดการไถลได้ ทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการลื่นไถล คือ การขับขี่ให้ช้าลง การขับขี่ที่ช้าลงทำให้ดอกยางสามารถสัมผัสถนนได้มากขึ้น ทำให้การเกาะถนนดีขึ้น

เรียนรู้ไว้ว่าต้องทำอย่างไร เมื่อเกิดการลื่นไถล ขึ้น การลื่นไถลเกิดขึ้นได้เสมอ จำไว้ว่าอย่าเหยียบเบรกอย่างรุนแรงเมื่อเกิดการลื่นไถล อย่าย้ำเบรกซ้ำ ๆ ถ้ารถของคุณมีระบบป้องกันล้อล็อกจากการเบรก (ABS) สิ่งที่ต้องทำเมื่อเกิดการลื่นไถลคือ เหยียบเบรกอย่างมั่นคง ที่ระดับความหนักที่สม่ำเสมอ และควบคุมพวงมาลัยให้อยู่ในทิศทางที่รถไถลไป

ทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้า ควรทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควร เนื่องจากในสภาวะอากาศ ที่ไม่ปกติอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา การทิ้งระยะห่างจากคันหน้าจะสามารถทำให้เราเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้เสมอ

เตรียมการสำหรับการเดินทาง การขับขี่บนถนนเปียกต้องการการควบคุมอย่างนุ่มนวลไม่กระแทกกระทั้น ในการบังคับเลี้ยว การเร่ง และ การเบรก เมื่อคุณขับรถในวันฝนตก รองเท้าอาจจะเปียกและลื่นออกจากแป้นคันเร่ง หรือเบรกได้ง่าย ให้เช็ดพื้นรองเท้ากับพรมรองพื้นในรถก่อนสตาร์ตเครื่องยนต์ ผู้ขับรถทุกคนควรตรวจไฟหน้ารถ ไฟท้าย ไฟเบรก และ ไฟเลี้ยวว่าสามารถ ทำงานได้ตามปกติ เมื่อถนนเปียกระยะเบรกจะเพิ่มเป็น 3 เท่า จากถนนแห้ง ดังนั้นในการขับขี่จะต้องเว้นระยะห่างจากคันหน้าให้มากขึ้น

เรียนรู้ว่าจะหลีกเลี่ยงและรับ มือกับการเหินน้ำได้อย่างไร การเหินน้ำเกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำที่อยู่ที่หน้ายางรวมตัวกันมากกว่าปริมาณน้ำที่ยางสามารถไล่ออกไปได้ แรงดันของน้ำทำให้ยางยกตัวสูงขึ้นจากพื้นถนน และไถลอยู่บนฟิล์มบางๆ ของน้ำที่อยู่ระหว่างยางกับถนน ดังนั้นการเจอแอ่งน้ำตามถนนอาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ควรเตรียมพร้อมโดยการขับขี่ทั้งสองมือและประคองพวงมาลัยให้มั่นคงเมื่อคาดเดาว่าจะเจอแอ่งน้ำ เพราะการเหินน้ำจะทำให้รถสะบัดและอาจจะเปลี่ยนทิศทาง ได้ง่าย


ถ้าฝนตกหนักมากให้หยุดรถ กรณีฝนตกหนักมาก ๆ ใบปัดน้ำฝนจะไม่สามารถปัดน้ำออกได้ทัน ถ้าฝนตกหนักจนมองทางไม่ชัดหรือมองรถคันอื่นไม่ชัดในระยะห่างที่ปลอดภัย ให้จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย จนกระทั่งฝนซา หรือ หยุด กรณีที่ต้องจอดบนไหล่ทาง ให้จอดรถห่างจากถนนให้มากที่สุด และเปิดไฟฉุกเฉินไว้ด้วย เพื่อเตือนให้รถที่วิ่งมารู้ว่ามีรถจอดอยู่ ฝนที่ตกในช่วงแรก ถนนจะลื่นที่สุด ทำให้ การขับขี่ยากที่สุดเพราะโคลน และน้ำมันที่อยู่บนพื้นผิวจะรวมตัวกับน้ำฝน กลายเป็นชั้นผิวลื่นๆ บนพื้นถนน ดังนั้นคุณต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่างมากในช่วงที่ฝนตก


สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/




วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เอาชนะความกลัว ความกังวล ในการขับรถได้อย่างไร

สวัสดีค่ะ วันนี้ครูมีสิ่งดีๆมาแนะนำให้ทุกคนนะคะ หลายๆ ท่านกลัวการขับรถ กลัวการใช้รถ
ใช้ถนน ตกใจ ไม่มั่นใจในตัวเอง ทำให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ และเรียนไปแล้วหลายท่านคิดว่าเสียเงินฟรี 

แล้วจะต้องทำอย่างไรเพื่อชนะความกลัวที่มีอยู่ในหัวของหลายๆท่าน 
ลองอ่านบทความด้านล่างนี้ดูนะคะ อ่านทุกตัวอักษร แล้วทุกคนจะเอาชนะความกลัวในหัวของเราได้ค่ะ




มาเอาชนะความกลัวในการขับรถกันค่ะ

1. เราต้องมีความมั่นใจในตัวเอง และมั่นใจในตัวครูผู้ฝึกสอน
2. ไม่เครียดไม่เกร็ง ไม่กังวลเรื่องอื่นๆ 
3. ตั้งใจฟังคำแนะนำของครูผู้สอน 
4. ปฏิบัติตามคำแนะนำของครูผู้สอนอย่างเคร่งครัด 
5. ให้กำลังใจตัวเอง คิดบวก คิดว่าเราต้องทำได้ ไม่พูดคำว่าจะทำได้หรือป่าว ยากจัง 
6. ตั้งใจฝึกซ้อมและตั้งคำถามกับผู้สอนเป็นระยะ ไม่เข้าใจตรงไหนถามได้เลยทันที 
7. ต้องทำความเข้าใจว่าแต่ละคนมีทักษะไม่เหมือนกัน เป็นช้าเป็นเร็วต่างกัน ฉะนั้นไม่เปรียบเทียบตัวเอง
   กับผู้อื่นและให้เปรียบเทียบกับตัวเราเอง ว่าการเรียนวันนี้ดีกว่าการเรียนในวันที่ผ่านมาหรือไม่ 
8. ใจเย็นๆ มีสติ และมีสมาธิในการเรียน ค่อยเป็นค่อยไป ไม่กดดันตัวเองมากเกินไป

ที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 คิดบวกและให้กำลังใจตัวเองตลอดเวลา สำคัญอย่างไรมาดูประวัติของครูกันค่ะ

ตัวอย่างที่1.  ครู ชื่อเขมจิรา จันทรแก้ว เป็นคนจังหวัดประจวบโดยตรงแต่ไม่เคยได้มีโอกาสได้ทำงานในบ้านเกิดของตนเอง เรียนจบปวช. ที่วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน ในสาชาวิชา การบัญชี และเลือกเรียนในระดับ
ปวส. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ด้วยเหตุผลเล็กๆ ตามประสาวัยรุ่นว่า "การบัญชีน่าเบื่อไม่ชอบ" และเรียนภาษาอังกฤษในเกรดต่ำสุดในห้องเรียน ก็เพราะความไม่ชอบอีกเช่นกัน แต่รู้หรือไม่คะ ในที่สุด 

#งานครั้งแรกในชีวิต ก็ได้ทำงานในแผนกการบัญชี และเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับชาวช่างชาติทันที  วันแรกที่ทำงานเต็มไปด้วยความกลัว หลีกเลี่ยงการพูดคุยและใช้ภาษาอังกฤษตลอดแต่ด้วยเนื้องานต้องใช้ภาษาอังกฤษไม่ว่าจะเป็นการพูด การส่งเมลล์ การพิมพ์เอกสาร ต้องใช้ภาษาอังกฤษ 90 % ของงานทั้งหมด ครูก็ต้องเริ่มพัฒนาตัวเอง หาหนังสือมาอ่าน และต้องกล้าที่จะสนทนาภาษาอังกฤษให้มากขึ้น การฝึกฝนไม่มีการถูกต้องเสมอไป พูดถูกบ้าง ผิดบ้าง "คิดเสมอว่าถ้าเราทำไม่ได้เราก็คงไม่ได้เงินเดือน เมื่อไม่ได้เงินเดือนเราก็ไม่มีเงิน"  เมื่อไม่มีเงิน แล้วชีวิตของเรา ของครอบครัว ทุกคนที่อยู่ข้างหลังจะทำอย่างไร ดังนั้นสถานการณ์บังคับ ทำให้ต้องเอาความกลัวออกไป แล้วก็สามารถสนทนา และทำเอกสารต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดในที่สุด 




ตัวอย่างที่ 2 ครูเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออกตั้งแต่เด็กๆ สือสารอะไรให้คนอื่นไม่เข้าใจ เวลาครูประจำชั้นสั่งให้ทำรายงานจะเป็นคนพิมพ์แล้วให้เพื่อนในกลุ่มออกไปพูดหน้าชั้นเรียนตลอด มาวันหนึ่งเกิดวิกฤตกับชีวิตตัวเอง ต้องออกไปรับงานเพิ่มเพื่อหารายได้เพิ่มเติม และงานนั้นก็เป็นงานที่ยากสำหรับครูอีกแล้ว "นำทัวร์" พาลูกทัวร์เดินทางไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่บริษัทจัดขึ้น หน้าก็คือต้อง เอ็นเตอร์เทรน ลูกทัวร์ ต้องพูดออกไมค์ ต้องประชาสัมพันธ์ ต้องแสดงออกต้องขึ้นเวที ต้องไปร้องเพลงให้ลูกค้าฟัง ต้องนำลูกทัวร์ทำกิจกรรมต่างๆ ต้องออกไปเต้นแร้งเต้นกา

โอ้มันช่างยากมากสำหรับครูที่ไม่เคยแม้แต่จะออกไปพูดหน้าชั้นเรียน แต่ก็ต้องทำต้องเอาความกลัวนั้นออกไป เพราะถ้าเราไม่มีความสามารถตรงนี้ เราก็ทำงานนี้ไม่ได้ เราก็ไม่ได้เงิน เราก็ผ่านวิกฤติไปไม่ได้ "นี่คือวิกฤตเป็นโอกาสทำให้เราเอาชนะความกลัวออกไปได้ค่ะ"

ครูต้องขึ้นร้องเพลงบนเวทีให้ลูกค้าฟัง ตามคำขอของลูกค้า


ครูต้องดูแลลูกทัวร์และบรรยายสถานที่ต่างๆที่ครูจะพาลูกทัวร์ไป ทั้งๆ ที่ครูไม่ได้เรียนไกด์มา ไม่มีความรู้เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวนะคะ 

ครูต้องขึ้นเวทีร้องเพลงคู่กับลูกค้าตามคำขอของลูกค้า เด็กหลังห้องต้องขึ้นเวทีร้องเพลง นักเรียนลองนึกนะคะ ว่าครูทำได้อย่างไร


ตัวอย่างที่ 3 สืบเนื่องจากครูเป็นคนสื่อสารอะไรไม่ค่อยเข้าใจ สังเกตุจากการอธิบายงานให้ผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงานฟัง ทุกคนจะไม่เข้าใจแล้วก็ทำให้ครูต้องอธิบายหลายรอบกว่าทุกคนจะเข้าใจ แต่เมื่อถึงวันหนึ่งที่ครูได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของแผนก ในการฝึกอบรมพนักงานด้วยกัน และพนักงานใต้บังคับบัญชา และต้องสรุปการฝึกอบรมและต้องสรุปผลรายงานผลต่อที่ประชุมทุกๆ เดือน ทำให้ครูก็ต้องทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตรงนี้ให้ดีที่สุด ต้องกล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าที่จะเรียนรู้วิธีการพูด ว่าจะพูดอย่างไร สอนอย่างไรให้เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจ กล้าที่จะออกไปอยู่หน้าห้องประชุม เพื่อพรีเซ้นต์งาน แล้วครูก็ทำมันได้



ตัวอย่างที่ 4 การฝึกหัดขับรถของตัวครูเอง ยอมรับเลยว่ายากมาก ครั้งแต่เป็นคุณแม่ของครูเองที่เป็นสอนให้ ฝึกหัดจากเกียร์ธรรมดา แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาน้องสาวก็สอนให้อีก แต่เนื่องจากขาดการฝึกฝนเพราะไม่มีรถฝึกหัดเองทำให้การเรียนก็ไม่ได้ผลอีกเช่นเดิม จนกระทั่งได้ไปเรียนขับรถมา 1 คอร์ส ได้รับใบขับขี่มา แต่ก็ยังขับไม่ได้ ขับได้แค่งูๆ ปลาๆ และขับได้แต่เกียร์ออโต้ และครูก็คิดในใจเสมอว่า ชาตินี้ครูคงขับรถเกียร์ธรรมดาไมไ่ด้แน่ๆ แล้วครูก็ได้ซื้อรถกะบะเกียร์ออโต้ออกมาด้วยความคิดว่าอยากมีรถกะบะ แต่ทำไงละ ในเมื่อขับไม่ได้ บังเอิญรถรุ่นใหม่ๆ มีเกียร์ออโต้แล้ว ก็เลยได้มีความหวังว่า ออโต้ก็ได้ ขับได้แบบไหนก็ซื้อแบบนั้น 



ครูต้องขอบคุณนักเรียนทุกคนและทุกๆ เหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในแต่ละช่วงของชีวิตที่ทำให้ครูกล้าที่จะพัฒนาตัวเองให้เก่ง แกร่ง และ ครูสัญญาว่า ครูจะดูแลลูกศิษย์ทุกคนของครูอย่างดีที่สุด



ที่เล่ามาทั้งหมดขอให้เป็นแนวคิดกับทุกคนนะคะ คนเราเกิดมาไม่ได้ทำอะไรเก่งไปซะทุกอย่าง แต่คนเราจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ อยู่ที่การฝึกฝน อยู่ที่การพัฒนา ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้นะคะ ทุกคนสามารถทำทุกอย่างได้ ในโลกนี้ไม่มีคนเก่ง หรือคนไม่เก่งค่ะ มีแต่คนที่ลงมือทำลงมือฝึกฝนจำสำเร็จกับคนที่ไม่ลงมือทำไม่ฝึกฝนแล้วก็ไม่สำเร็จค่ะ

คิดบวก และ ฝึกฝนต่อเนื่องค่ะ ทำได้ทุกคน




สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เคล็ดลับการเติมน้ำมันและเคล็ดลับประหยัดน้ำมัน


ไม่ควรเติมน้ำมันรถยนต์เต็มถังและเคล็ดลับประหยัดน้ำมัน
พวกเราส่วนใหญ่ไม่ค่อยตระหนักว่าสายส่งน้ำมันนั้นมีท่อส่งกลับน้ำมัน (สีดำ) เมื่อน้ำมันเต็มถัง (ในรถยนต์) ลิ้นหัวจ่ายน้ำมันที่ตัวปั๊มจ่ายน้ำมันจะถูกปิดและขณะเดียวกันนั้นวาลว์ส่งกลับน้ำมันที่ตัวปั๊มนั้นจะเปิดเพื่อให้น้ำมันในท่อส่งน้ำมัน (ตำแหน่งบนสุดของปั๊มน้ำมัน) ไหล กลับคืนเข้าสู่ถังน้ำมัน แต่น้ำมันที่ค้างในหัวจ่ายนั้นได้ผ่านมิเตอร์แล้ว นั่นแสดงว่าคุณกำลังบริจาคน้ำมันที่ค้างในท่อจ่ายน้ำมันคืนให้กับผู้จำหน่าย 

เคล็ดลับประหยัดน้ำมัน

1. ควรเติมน้ำมันเมื่อน้ำมันในรถเหลือครึ่งถัง (แหล่งข้อมูลบางแห่งแนะนำว่า เติมน้ำมันแค่ครึ่งถังก็พอ จะได้ลดน้ำหนักบรรทุกและประหยัดน้ำมัน ทั้งนี้และทั้งนั้น ขอให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณตัดสินเอาเองก็แล้วกัน―หมายเหตุผู้แปล) เหตุผลคือ น้ำมันบรรจุในถังยิ่งมาก เนื้อที่ว่างสำหรับไอระเหยก็ยิ่งน้อย เพราะน้ำมันระเหยเป็นไอเร็วกว่าที่คุณคาดคิด

2. จงเติมน้ำมันตอนเช้าขณะที่อุณหภูมิบนพื้นดินยังเย็นอยู่ อย่าลืมว่าปั๊มน้ำมันทุกแห่งมีถังน้ำมันฝั่งอยู่ใต้ดิน เมื่อพื้นดินยิ่งเย็น น้ำมันยิ่งควบแน่น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น น้ำมันก็จะขยายตัวตาม ดังนั้น หากเติมน้ำมันช่วงบ่ายหรือเย็น คุณจ่ายค่าน้ำมัน 1 แกลลอน แต่ได้มาไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ธุรกิจค้าน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นน้ามันเบนซิน ดีเซล น้ำมันสำหรับเครื่องบิน เอทานอล หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ อุณหภูมิและความถ่วงจำเพาะ มีบทบาทสำคัญ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเพียง 1 องศา หมายถึงเงินมหาศาลในธุรกิจนี้ แต่ปั๊มน้ำมันไม่มีการชดเชยอุณหภูมิให้ลูกค้า

3. ขณะเติมน้ำมัน อย่าให้เด็กปั๊มตั้งหัวฉีดอยู่ในตำแหน่งไหลเร็ว (ในอเมริกาเจ้าของรถต้องลงมือเติมเอง) หากคุณสังเกต จะเห็นว่ากลไกเหนี่ยวมี 3 ระดับ คือ low, middle, และ high เมื่อตั้งในระดับไหลช้า จะเกิดไอระเหยของน้ำมันน้อยที่สุด หากตั้งในระดับไหลเร็ว น้ำมันบางส่วนจะกลายเป็นไอระเหย และถูกสูบย้อนกลับไปยังถังใ้ต้ดิน นั่นหมายถึงคุณจ่ายเงินมากกว่าที่ควร

4. ข้อเตือนใจอีกข้อหนึ่ง ขณะที่คุณขับรถเข้าปั๊มถ้าเห็นรถบรรทุกกำลังถ่ายน้ำมันเข้าสู่ถังเก็บใต้ดิน จงอย่ารีบร้อนเติมน้ำมันช่วงเวลานั้น เพราะตอน "ลงของ" สิ่งแปลกปลอม ซึ่งปรกติจะตกตะกอนอยู่ใต้ถัง ถูกปั่นป่วนจนลอยตัว หากคุณเติมน้ำมันช่วงเวลานั้น อาจมีโอกาสดูดเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่รถคุณได้

วิธีที่ดีที่สุดในการขับรถประหยัดน้ำมันคือ

1 ขับรถที่ความเร็ว 90-100 กม/ชม หรืออาจจะต่ำกว่านี้ แต่ต้องเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสม
2 ควรเปลี่ยนเกียร์ที่รอบเครื่อง 2000-2500 รอบ อย่าลากเกียร์

ประมาณนี้แหละครับ จะประหยัดได้มากกว่า ทดลองมาแล้วค่ะ จากเมื่อก่อนขับได้ 9-10 กม /ลิตร เดี๋ยวนี้ทำตามสองข้อที่ผมบอกไว้ด้านบนทำได้ 13-14 กม /ลิตรเลยทีเดียว



สนใจเรียนขับรถยนต์

กับครูผู้มีประสบการณ์การสอน ครูใจเย็น ครูใจดี ครูผู้หญิง หรือท่านมีปัญหาเรื่องการสอบขอรับใบอนุญาติขับขี่ หัดขับกันเองไม่เป็น กลัวเกิดอุบัติเหตุ สอนกันไม่เข้าใจ ทะเลาะกัน มาปรึกษาเราสิคะ เขมจิรา ยินดีให้คำแนะนำทุกท่านค่ะ
โทร. 092-997-4249,063-196-4492

Line ID:  fondrivingschool
https://www.facebook.com/PrachuabDrivingSchool/
http://prachuabdrivingschool.blogspot.compot.com/

http://www.prachuabdrivingschool.com/